ภาวะโลกเดือด: ปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง

“สภาวะโลกเดือด” เป็นวาทะที่ใช้ในบริบทสภาวะของโลกที่มีปัญหาหลายประการ ซึ่งอาจรวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ปัญหาสิ่งแวดล้อม, ความขัดแย้งทางการเมือง, ความขัดแย้งทางสังคม, และปัญหาอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงยิ่งขึ้น “โลกเดือด” ยังเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อสภาวะการมีชีวิตบนโลกเช่น ผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์.

“โลกเดือด” จึงเป็นตัวเรียกความตื่นตัวของสังคมให้ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อรักษาสิ่งมีชีวิตบนโลกและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, และการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องทางสังคมและการเมืองที่อ่อนไหว ความร่วมมือทั่วโลกและการกระทำตามแนวทางที่ยั่งยืนจะเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับสภาวะโลกเดือดนี้

ผลกระทบของ ‘ภาวะโลกเดือด’

‘ภาวะโลกเดือด’ อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น โดยปัจจุบันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างฉับพลันนั้นมีมากมาย เช่น

อุณหภูมิโลกสูงขึ้น : สภาวะโลกเดือดอาจนำมาสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ซึ่งส่งผลให้เกิดความร้อนรุนแรง และอากาศร้อนที่หนักขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกยังทำให้เกิดการละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลก ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

วิกฤติภัยธรรมชาติ : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น เช่น พายุ แผ่นดินไหว ไฟป่า และน้ำท่วมที่รุนแรง ปัจจุบันนี้ เราล้วนแต่เห็นข่าวเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่เว้นแต่ละวัน

การสูญเสียระบบนิเวศน์ : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ชนิดต่างๆ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารของสัตว์อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งทำให้สัตว์ไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และกลายเป็นความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ตามมา

โรคและปัญหาสุ­ขภาพที่ต้องระวัง

ปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย : จากการศึกษาวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และการขยายตัวของเมือง เป็นสาเหตุหลักบางประการที่อยู่เบื้องหลังการระบาดของไวรัส เช่น ไข้เลือดออก เชื้อไวรัสซิกา และโรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก

การศึกษานี้เปิดเผยว่า การติดเชื้อที่เกิดจากโรคที่มียุงเป็นพาหะเหล่านี้ และระบาดได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นและภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีรายงานที่ระบุว่า จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วโลกเพิ่มขึ้น จากราว 5 แสนรายในปี 2000 เป็น 5.2 ล้านรายในปี 2019 แล้ว

ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลกกำลังเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยที่สุด ที่แพร่จากยุงไปสู่มนุษย์ โดยในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อประมาณ 100 ถึง 400 ล้านคน

ย้อนดูสถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย นพ.วิชัย สติมัย ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค หนึ่งในคณะกรรมการติดตามผลกระทบด้านสุขภาพจากภาวะโลกร้อน กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า

“ในปี2565 ที่ผ่านมาจำนวนตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นในระดับน่าเป็นห่วง ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศแถบเอเชียทั้งหมดเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ งานวิจัยหลายชิ้นระบุถึงสาเหตุของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยุงลายแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น และอายุยืนกว่าในอดีตด้วย ที่สำคัญประเทศในเขตหนาวเย็นหรือภูเขาสูงที่มีหิมะตลอดปี ซึ่งไม่เคยมียุงลายมาก่อน เริ่มตรวจพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจากยุงลายเป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ประเทศภูฏาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2547 ต่อมาคือประเทศเนปาล พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2549” นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ได้ชี้ประเด็นที่น่าเป็นห่วงของอัติการ การเกิดโรคไข้เลือดออกในยุคนี้ว่าให้จับตาไข้เลือดออกปี 2566 ในเขตเมือง รวมถึงพื้นที่แออัดในเมืองมีแนวโน้มที่จะระบาดสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ สุดท้าย นายแพทย์สุภัทรย้ำว่าปัจจุบัน “ไข้เลือดออกไม่มียารักษาโดยตรง” ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ดื่มน้ำมากๆ ป้องกันภาวะช็อก หรือรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น จนแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 100 ราย

ดังนั้น “ประชาชนควรตระหนักรู้กับไข้เลือดออก” เมื่อมีอาการไข้สูง ขึ้นเร็ว และอาเจียนโดยไม่มีไอน้ำมูกควรต้องไปโรงพยาบาลเข้าระบบป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่แล้วโรงพยาบาลก็ต้องประสานแจ้งชุมชนตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รพ.สต. เพื่อตรวจเช็กทำการควบคุมโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และฉีดพ่นฆ่ายุงลายนั้น

ปัญหาด้านสุขภาพจิต: ภาวะโลกเดือด อาจทำให้ผู้คนรู้สึกวิตกกังวล เกิดภาวะเครียด ความกดดันจากสังคมรอบด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม อาจรวมถึงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ยากลำบาก ความไม่เสมอภาคทางการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ซึ่งในสถานการ์โควิดที่ผ่านมาเห็นได้ย่างชัดเจนว่าเกิดการยื้อแย่งในการเข้าถึงการรักาพยาบาล ยิ่งสะท้อนให้เห็นระบบการจัดการของภาครัฐและการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทางการแพทย์ ที่ต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ในการรับมือภาวะโลกเดือดจึงต้องอาสัยความร่วมมือจากภาคประชาชนที่จะต้องศึกษาหาความรู้ วิธีการรับมือ การปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ต่างๆ พัฒนาศักยภาของชนชุมให้สามารถเอาตัวรอดได้ ในส่วนภาครัฐก็ต้องเร่งสร้างมาตรการความร่วมมือระดับนโยบายและหาความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างระบบสาธารณะสุขที่เข้มแข็งและสามารถรับมือกับวิกฤต เช่น ระบบสาธารณสุขสากล ระบบการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ และการร่วมมือในด้านเศรษฐกิจการร่วมมือในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการใช้พลังงานที่สะอาดและยั่งยืน.

อ้างอิง

https://www.isranews.org/article/isranews-article/120770-isranews-173.html

https://www.voathai.com/a/who-warns-climate-change-causing-surge-in-mosquito-borne-diseases/7051123.html

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *